วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์


          ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 มีการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่มีการค้นคว้าทดลองพิสูจน์ทฤษฎี ต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
          นิโคลัส โคเพอร์นิคัส ( Nicholaus Copernicus ค.ศ. 1473-1543 )    เป็นนักวิทยาศาสตร์เชื้อสายโปแลนด์    ได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล นับเป็นการปฏิวัติทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ   เพราะเป็นการอ้างทฤษฎีที่ค้านกับความเชื่อเดิมเมื่อ 1 , 500 ปีมาแล้ว ซึ่งเสนอโดย โทเลอมี
          แอนเดรียส วีเซเลียส ( Andreas Vesalius ค.ศ. 1514-1563 )   นักกายวิภาคศาสตร์ผู้ศึกษาจากศพคนจริง ๆ   และคัดค้านคำสอนของเกเลน ทำให้คำสั่งสอนของเกเลนซึ่งเชื่อกันมานานถึง 1 , 500 ปี ถูกล้มล้างไป    การศึกษากายวิภาคของคนจากร่างกายของคนจึงทำให้การพัฒนาด้านการแพทย์เจริญ ก้าวหน้าเข้าสู่ยุคปัจจุบันมากขึ้น
          กาลิเลโอ ( Galileo Galilei ค.ศ. 1564-1642 )   เป็นนักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีความคิดเห็นก้าวหน้าล้ำยุคมาก    และไม่เห็นด้วยกับความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์โบราณ  ของอริสโตเติล โทเลอมี และเกเลน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านนี้ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของวิทยาศาสตร์   ด้านต่าง ๆ ยาวนานกว่าพันปีทั้งสิ้น ดังนั้น กาลิเลโอจึงประสบปัญหาในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างมาก     เพราะขัดแย้งกับคำสอนทางศาสนาอีกด้วยเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า    บิดาแห่งการทดลองทางวิทยาศาสตร์เขาค้นพบของแรงดึงดูดของวัตถุของโลกในชั้น แรก และเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องดูดาว ที่สามารถส่องดูการเคลื่อนไหวของดาวได้เป็นคนแรก
          โยฮัน เคปเลอร์ ( Johannes Kcpler ค.ศ. 1571-1630 )   เป็นคนแรกที่วางรากฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของจักรวาล     และอธิบายวิถีการโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง    ปัจจุบันยังใช้กันอยู่เรียกว่ากฎของเคปเลอร์   เขาสรุปว่า ดวงดาวต่าง ๆ โคจรเป็นวงรีไม่ใช่วงกลม
          โรเบิร์ต บอยล์ ( Robert Boyle ค.ศ. 1627-1692 )    บิดาแห่งวิชาเคมีและเป็นคนแรกที่ผลักดันให้เกิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่   ซึ่งมีการศึกษาทดลองประกอบกับการตั้งทฤษฎีโดยโจมตีแนวคิดของอริสโตเติลที่   กล่าวว่าสสารประกอบด้วยธาตุ 4 ชนิด แต่บอยล์กลับกล่าวว่าสสารประกอบด้วยธาตุมากกว่านั้นมากมาย
          จอห์น เรย์ ( John Ray ค.ศ. 1627-1705 )    เป็นผู้เริ่มงานด้านชีววิทยา จำแนกพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ    เป็นหมวดหมู่และตั้งชื่อไว้ด้วย เขาจำแนกพืชต่างๆ กว่า 1 , 86 , 000 ชนิด ไว้เป็นหมวดหมู่ จึงได้รับสมญานามว่  า บิดาแห่งวิชาพฤกษศาสตร์
          เอนตัน แวน เลเวนฮุก ( Anton Van Leuwenhoek ค.ศ. 1632-1723 )   ได้พบวิธีฝนเนส์ และได้สร้างกล้องจุลทรรศน์   นำไปส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ แล้วสามารถได้รายละเอียดของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นั้นได้    ข้อมูลของเขาทำให้ความรู้เรื่องจุลชีวันกระจ่างขึ้นมาก กล้องจุลทรรศน์ของเขาสามารถขยายได้ถึง 270 เท่า   จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งโลกจุลชีวัน
          เซอร์ ไอแซก นิวตัน ( Sir Isaac Newton ค.ศ. 1642-1727 )    พบกฎแห่งความโน้มถ่วงซึ่งเป็นกฎสากลอันดับแรก     จึงได้รับสมญานามว่า บิดาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และเป็นผู้ศึกษาเรื่องแสง โดยเจาะช่องเล็ก ๆ   ให้แสงส่องเข้าไปในห้องมืด    เมื่อเอาแท่งแก้วปริซึมวางไว้ให้แสงแดดส่งผ่าน   แสงสีขาวจะกระจายเป็น 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง พร้อมกับอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดรุ้งกินน้ำ   และ สรุปแรงดึงดูดของโลก จากการสังเกตลูกแอปเปิ้ลตกลงพื้นดิน ไม่ลอยไปในอากาศ โดยเรียกกฎนี้ว่า
"กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน" 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น