วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

 ตะคริว
                         

  ตะคริว คำเรียกอาการปวดเกร็ง  เจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง  เฉียบพลัน  ส่วนมากมักเป็นบริเวณขา  แขน  แต่ก็อาจเกิดที่มือ  นิ้ว  และต้นคอได้เช่นกัน
แม้ว่าตะคริวจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ  เช่น  ขาดน้ำ  พักผ่อนน้อย  ความเครียด  เส้นประสาทเสียหายจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ  ท่าเดิมมากเกินไป  แต่สาเหตุหลักที่สำคัญคือ  การขาดธาตุโพแทสเซียมแมกนีเนียม  และแคลเวียม  สารอาหารสำคัญที่ช่วยดูแลการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อนั่นเอง
ดังนั้นวิธีป้องกันไม่ให้เป็นตะคริวก็คือ  การรับประทานอาหารซึ่งมีแร่ธาตุดังกล่าวอย่างเพียงพอ  เช่น  ขนมปังโฮลวีต  ซีเรียล  ธัญพืช  พืชตะกูลถั่ว  ถั่วเปลือกแข็ง  กล้วยหอม  ส้ม  แคนตาลูป  และนม  นอกจากนี้ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น  โดยเฉพาะก่อนออกกำลังกายสองชั่วโมงควรดื่มน้ำอย่างน้อย 2 แก้ว  และพักดื่มน้ำครึ่งแก้วถึง 1 แก้ว  ระหว่างเล่นกีฬาทุกๆ  10 – 20 นาที  ส่วนคนที่เป็นตะคริวระหว่างนอนหลับ  ควรนอนในท่าที่ผ่อนคลายที่สุด  เท่าไม่เหยียดตึงเกินไป  เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อขาเกร็ง  นอกจากนี้การห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่นก็ช่วยได้เช่นกัน
                ถ้าสุดวิสัยเป็นตะคริว  วิธีที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วที่สุดคือยืดกล้ามเนื้อที่ปวดและเกร็งแข็งให้คลายออก  ดดยใช้ยาหม่อง  น้ำมันมวย  หรือครีมนวดคลายกล้ามเนื้อ  อาจใช้แผ่นความร้อนหรือผ้าร้อนๆ  ประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 20 นาที  แล้วทิ้งช่วงไว้อย่างน้อยอีก 20 นาทีก่อนจะประคบใหม่  จะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น  หากเป็นตะคริวที่น่องควรเหยียดขาให้ตึง  กระดกเท้าขึ้น  อาจใช้มือดึงปลายเท้าเข้ามาหาตัวเองเพื่อช่วยอืดกล้ามเนื้อ  อีกวิธีหนึ่งคือ  กำหมัดหลวมๆ  กดลงกลางจุดที่ปวดเป็นตะคริว  ค้างไว้ 10 วินาที  แล้วปล่อย 10 วินาทีจึงกดใหม่  ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง  อาการปวดจะดีขึ้น
สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมคือ  ตะคริวมักเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้นถ้ามีอาการนานกว่า 1 วันหรือเกิดขึ้นบ่อยๆ  แม้จะรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มสารอาหารและรักษาอาการเบื้องต้นแล้ว  แต่ยังมีอาการเกร็งโดยเฉพาะบริเวณบริเวณบั้นเอว  หลัง คอ และมีอาการเจ็บลามไปที่แขนหรือขา  ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุทันที
     ที่มา : HEALTH & CUISINE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น