ต้นกาแฟ ค้นพบครั้งแรกใน เอธิโอเปีย เนื่องจากชายเลี้ยงแพะสังเกตเห็นแพะที่เลี้ยงอยู่มีอาการกระปรี้กระเปร่า
เป็นพิเศษ หลังจากได้กินผลสีแดงคล้ายเชอรี่ของต้นไม้ชนิดหนึ่ง
ชายเลี้ยงแพะจึงลองเก็บผลชนิดนั้นมาลองกินดูบ้าง ปรากฏว่าเกิดอาการเช่นเดียวกับแพะ
ข่าวดังกล่าวแพร่หลายอย่างรวดเร็วจนกระทั่งทราบไปถึงผู้สอนศาสนาที่รู้ถึง
ความมหัศจรรย์ของผลสีแดงนี้ พระผู้สอนศาสนาจึงทดลองนำผลเชอรี่ดังกล่าวไปแช่น้ำและดื่มน้ำนั้นดู
ทำให้เกิดความรู้สึกกระฉับกระเฉง
เหตุนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของการดื่มน้ำผลเชอรี่หรือผลกาแฟนั่นเอง
ความนิยมของกาแฟเริ่มแพร่กระจายในอาหรับมากขึ้น กระทั่งในปี ค.ศ.1534
สุลตานแห่งอิสตันบูล นามว่า ออสโตมัส สั่งประกาศให้ เป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่เหมือนยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุหนึ่งปีต่อมากาแฟเป็นที่นิยมมากขึ้นและมีร้านกาแฟเกิดขึ้น
เป็นพี่พบปะของเหล่านักคิด นักปราชญ์ศิลปินรวมเหล่านักคิด
ศิลปินแต่องค์กรศาสนากับมองว่าร้านกาแฟเป็นที่ซ่องซุ่มทำให้คนไม่สนใจศาสนา
จึงประกาศว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มสีดำมืดของปีศาจซาตาน คนนิยมในกาแฟจึงลดลง
กระทั่งยุคของสมเด็จสันปะปาคลีเมนที่ 13ได้ทดลองเครื่องดื่มดังกล่าว
และประกาศว่าแท้จริงแล้วกาแฟมิได้เป็นอย่างข้อกล่าวหา
กาแฟจึงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากนั้นการดื่มกาแฟ เริ่มแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง
ต่อมามีการนำผลกาแฟไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรป
ทำให้เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว
ในปี ค.ศ. 1700 เริ่มมีการนำต้นกาแฟไปปลูกแถบอเมริกาใต้
ซึ่งกลายเป็นที่นิยมปลูกกันมากในระยะเวลาต่อมา
ปัจจุบันพื้นที่แถบอเมริกาใต้ปลูกกาแฟมากกว่า 19 ล้านตัน
ประเทศที่ปลูกและให้ผลผลิตกาแฟเป็นอันดับ 1 ได้แก่ บราซิล รองลงมา คือ โคลัมเบีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ
สำหรับการเดินทางของกาแฟมายังเมืองไทยนั้น ในปี 2447
โดยนายดีหมุน ผู้นับถือศาสนา อิสลาม และนำเมล็ดกาแฟโรบัสต้า
จากเมืองเมกกะวาอุอาระเบีย มาปลูกที่ตำบนโตนด อำเภอสะบ้าย้อยหัวเมือง สงขลา
ส่วนสายพันธ์กาแฟอราบิก้า นั้นเข้ามาในปี2549 นำมาปลูกทางตอนเหนือของประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น